วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ





บทที่  7

ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) 
            สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 
                  ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

                                                       ระบบสายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน

ประเภทของระบบสายพานลำเลียง

                                                               FLOOR CONVEYOR

           
            ระบบสายพานลำเลียงแบบระนาบพื้นเป็นระบบที่ใช้ในการลำเลียงชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิตได้หลายประเภท สามารถรองรับชิ้นงาน ที่มีลักษณะน้ำหนักที่หลากหลายได้
             

SLAT CONVEYOR


            ระบบสายพานลำเลียงแบบแผ่นระนาด เป็นระบบที่สามารถรองรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและมีจำนวนมาก รวมถึงระบบนี้ยังมีความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นระนาดทำด้วยวัสดุอย่างดี และตัวโครงสร้างก็ทำจากเหล็กคุณภาพสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใข้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ่อยๆ

TRANSPORTER


             ระบบลำเลียงชิ้นงานแบบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้สำหรับยกชิ้นงานที่บรรจุอยู่ในภาชนะ เช่น ตะกร้า เพื่อลำเลียงเข้าสู่กระบวนการชุบสีหรือล้างสี เช่น กระบวนการ Pretreatment & EDP Line เป็นต้น ระบบลำเลียงชนิดนี้ช่วยให้ประหยัดแรงงาน และ ช่วยให้งานดำเนินไปตามแผนได้อย่างราบรื่น

รุ่นของสายพานลำเลียง

TYPE: X-348


          สายพานรุ่นนี้มักนำไปใช้ในระบบสายพานแบบแขวน(Overhead Conveyor) โดยสายพานรุ่นนี้สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 75 kg./hanger

TYPE: X-458


           สายพานรุ่นนี้เป็นรุ่นเดียวกับสายพาน รุ่น X-348 แต่มีขนาดใหญ่กว่า จึงสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า โดยสามารถรับได้ถึง 100 kg./hanger

TYPE: Z-5075


          สายพานรุ่นนี้เป็นสายพานลำเลียงที่ใช้กับระบบสายพานแบบแขวนเช่นกัน แต่รางที่ใช้จะแตกต่างกับรุ่น X โดยที่สายพานรุ่นนี้จะสามารถรองรับน้ำหนักชิ้นงานได้มากที่สุด 50 kg./hanger





ระบบ AGV


             เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น

ส่วนประกอบของ AGV
1. ส่วนของตัวรถ
2. ส่วนของตัวตรวจเช็คเส้นทาง (Guided sensor)
3. ส่วนของตัวตรวจเช็คความปลอดภัย (Safety sensor)
4. ส่วนของต้นก าลัง (Motor)
5. ส่วนของไฟฟ้ าภายในตัวรถ (Power supply)
6. ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง (Power electronics)
7. ส่วนของตัวควบคุม (Controller)

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ลดต้นทุนการผลิต
- มีการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริหารบุคลากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
- ลดอุบัติเหตุ
                             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาชิกการจัดการ60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร  ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม 002   นาย ก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003   นาย เกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็มมี่ 004   นายจีรุตม...