วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ60 ห้อง A



อาจารย์ธภัทร  ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม

002  นาย ก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด
003  นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็มมี่
004  นายจีรุตม์ ศรีราม บิ๊ก
005  นายชนัตถ์ จันทร์วงค์ นัท
006  
007  นางสาวฐานิญา ช่วยบำรุง พะแพง
008  
009  
010  นายตะวัน แซ่ซำ การ์ด
011  นายธนพงษ์ ไชยนุรักษ์  บูม
012  นายธวัช บัวแก่น บอลลี่
013  นางสาวธิดารัตน์ เรืองเหมือน แพร  
014
015  นายนันทวุฒิ  ช่วยมณี  บ่าว
016  นายนิติกรณ์ ยอดสุวรรณ์ น็อต      
017
018  นายประพัฒน์พงษ์  ทองเอม บ่าวนุ๊ก
019  นายปิยวิทย์   สังข์เศรษฐ์     วิทย์
020
021  นางสาวเพชรลดา  เขียวสุวรรณ  พี่ฝน
022
023  นายภาคภูมิ ใจสมุทร ภูมิ
024  นายมูฮัยมีน  ยะเลซู  มิง
025  นายยูโซฟ ใบตาเย๊ะ กำนัน
026  นายรุซดีย์ ยะลิน ดี้
027  นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ ปาล์มมี่
028  นายวรายุทธ ชูบุญลาภ แม็ค
029
030  นางสาววารีซ่า บาราสัน วาววา
031  นางสาวศเร๊าะต้า หมัดบก ตาต้าร์
032  นายศัตายา  แซ่เอี่ยม แดน
033
034  นายสถิตย์   พิชัยบัณฑิตย์  แสนดี 
035
036  นายสิทธิพร  บำเพิง  พี่บูม
037  นาวสาวสุทธิณี  บุญธรรม  พิกุล
038  นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ น้องแบ็มบี้
039  นางสาวสุภาพร ทองแย้ม แก้ว
040  นายโสภณ  สุวรรณรัศมี  พี่ใหม่
041
042  นาย อนุวัฒน์ ค้ำชู (หลวงเสริม)เอ็ม
043  นายอรรถชัย ชูสังข์ กอล์ฟ
044  นายอลังการ  แท่งทอง  จ๋ะจ๋า
089  นายสัณหวัช  ขวัญเย็น  มาร์ค

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ





บทที่  7

ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) 
            สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 
                  ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

                                                       ระบบสายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน

ประเภทของระบบสายพานลำเลียง

                                                               FLOOR CONVEYOR

           
            ระบบสายพานลำเลียงแบบระนาบพื้นเป็นระบบที่ใช้ในการลำเลียงชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิตได้หลายประเภท สามารถรองรับชิ้นงาน ที่มีลักษณะน้ำหนักที่หลากหลายได้
             

SLAT CONVEYOR


            ระบบสายพานลำเลียงแบบแผ่นระนาด เป็นระบบที่สามารถรองรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและมีจำนวนมาก รวมถึงระบบนี้ยังมีความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นระนาดทำด้วยวัสดุอย่างดี และตัวโครงสร้างก็ทำจากเหล็กคุณภาพสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใข้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ่อยๆ

TRANSPORTER


             ระบบลำเลียงชิ้นงานแบบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้สำหรับยกชิ้นงานที่บรรจุอยู่ในภาชนะ เช่น ตะกร้า เพื่อลำเลียงเข้าสู่กระบวนการชุบสีหรือล้างสี เช่น กระบวนการ Pretreatment & EDP Line เป็นต้น ระบบลำเลียงชนิดนี้ช่วยให้ประหยัดแรงงาน และ ช่วยให้งานดำเนินไปตามแผนได้อย่างราบรื่น

รุ่นของสายพานลำเลียง

TYPE: X-348


          สายพานรุ่นนี้มักนำไปใช้ในระบบสายพานแบบแขวน(Overhead Conveyor) โดยสายพานรุ่นนี้สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 75 kg./hanger

TYPE: X-458


           สายพานรุ่นนี้เป็นรุ่นเดียวกับสายพาน รุ่น X-348 แต่มีขนาดใหญ่กว่า จึงสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า โดยสามารถรับได้ถึง 100 kg./hanger

TYPE: Z-5075


          สายพานรุ่นนี้เป็นสายพานลำเลียงที่ใช้กับระบบสายพานแบบแขวนเช่นกัน แต่รางที่ใช้จะแตกต่างกับรุ่น X โดยที่สายพานรุ่นนี้จะสามารถรองรับน้ำหนักชิ้นงานได้มากที่สุด 50 kg./hanger





ระบบ AGV


             เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น

ส่วนประกอบของ AGV
1. ส่วนของตัวรถ
2. ส่วนของตัวตรวจเช็คเส้นทาง (Guided sensor)
3. ส่วนของตัวตรวจเช็คความปลอดภัย (Safety sensor)
4. ส่วนของต้นก าลัง (Motor)
5. ส่วนของไฟฟ้ าภายในตัวรถ (Power supply)
6. ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง (Power electronics)
7. ส่วนของตัวควบคุม (Controller)

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ลดต้นทุนการผลิต
- มีการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริหารบุคลากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
- ลดอุบัติเหตุ
                             


วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม





บทที่6
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม






หุ่นยนต์ในโรงงาน  หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนสูงขึ้นและงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัด ระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม







หุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับเก็บกู้ระเบิด   หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
 สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  
             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป



หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ 


อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993 (พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึง 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น (รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก


ความสามารถของอาซิโม (Ashimo)

น่าทึ่งครับ กว่าจะมาเป็นอาซิโมอย่างทุกวันนี้ได้ ทีมวิจัยและพัฒนาได้ศึกษาการเคลื่อนที่และท่าทางของมนุษย์อย่างมากมาย ทำให้อาซิโมมีความสามารถต่าง ๆ ที่หลากหลาาย เช่น
1. การเดิน การเลี้ยว  การเดินนั้นอาซิโมสามารถเดินได้ด้วยความเร็ว 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีท่าทางการเดินที่เหมือนมนุษย์ ระหว่างการเดินจะมีการย่อตัวเล็กน้อย เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้ไม่ล้ม โดยใช้เทคโนโลยี i-Walk เทคโนโลยีนี้ทำให้อาซิโมสามารถเดินไปข้างหน้า หรือเลี้ยวได้อย่างต่อเนื่องเร็วและนุ่มนวล
2. การวิ่ง อาซิโมสามารถวิ่งด้วยความเร็วที่มากถึง 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำให้อาซิโมเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์(humanoid)ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยขณะที่อาซิโมวิ่งจะมีจังหวะที่ขาทั้งสองข้างยกสูงจากพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที
3. การเต้นรำ
4. การขึ้นบันได
5. การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เดินหลบผู้คนที่เดินเข้าหาได้ อาซิโมสามารถตรวจจับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้ และคาดการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ทำให้อาซิโมสามารถเดินหลบคนที่เดินเข้าหาได้ด้วย
6. กระโดดกระต่ายขาเดียวอยู่กับที่หรือไปข้างหน้าได้
7. กระโดดขาคู่สูงจากพื้นก็ทำได้เช่นกัน
8. การแยกแยะเสียงของคู่สนทนาที่มากกว่า 1 คน
9. การจดจำใบหน้าและนำไปยังสถานที่นัดพบ ทำให้อาซิโมเหมาะที่จะเป็นพนักงานต้อนรับเป็นอย่างมาก ปัจจุบันฮอนด้าได้ให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น
10. การหยิบจับสิ่งของการถือถาดอาหาร การเสิร์ฟน้ำ  การไหว้และการทักทายจับมือโบกมือ อาซิโมสามารถถือสิ่งของด้วยมือข้างเดียวได้โดยอาซิโมสามารถถือของที่มีน้ำนหักได้ถึง 300 กรัม หากยกด้วยแขนสองข้างอาซิโมจะสามารถยกของที่หนักได้ถึง 1 กิโลกรัม
11. การเข็นรถเข็น
12. การเตะบอลไปยังเป้าหมาย
13. การตอบโต้ด้วยคำพูดอย่างง่ายได้ และรับฟังคำสั่งรวมถึงทำตามคำสั่งได้


           มนุษย์เรานั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ กำลังวังชาสภาพร่างกายก็ถดถอยเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อายุมากกลับช่วยตัวเองได้น้อยลง บางคนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบันที่ผู้คนแข่งขันทำงานหาเงิน ทำให้ขาดเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยในครอบครัว จนต้องพึ่งบริการศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แต่บุคลากรดูแลด้านนี้ก็อาจจะยังไม่มากพอ ฉะนั้น หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์จึงเป็นทางเลือกที่นักวิชาการมองว่าจะทำหน้าที่ได้ไม่แพ้มนุษย์

            การสร้างโปรแกรมข้อมูลลงไปในหุ่นยนต์ได้พัฒนาไปไกลจนคาดไม่ถึง ทั้งการรับรู้ทางด้านวัฒนธรรม สามารถทำงานได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย มอบความบันเทิง เต็มไปด้วยมิตรภาพ และอาจจะช่วยบรรเทาแรงกดดันของคนชราที่อาศัยในศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุรวมทั้งในโรงพยาบา

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

เครื่องจักรNC







บทที่ 5
เครื่องจักรกลNC


ความหมายของ NC

      เครื่องจักร NC ( Numerical Control) จะถูกควบคุมการทํางานดวยรหัส ที่ประกอบดวยตัวเลข ตัวอักษรและสัญลักษณอื่น ๆ ซึ่งรหัสเหลานี้ จะถูกแปลงใหเปนสัญญาณทางไฟฟา จากนั้นจึงสงไป กระตุนใหอุปกรณทางไฟฟา เชนมอเตอรหรืออุปกรณอื่น ๆ ทํางาน ทําใหเกิดการเคลื่อนที่ เครื่อง NC รุนแรก ๆ จะปอนรหัสผานทาง Punched Card ตอมามีการพัฒนามาเปนการปอนดวย เทปกระดาษเจาะรู ตอมาถึงยุคที่คอมพิวเตอรเฟองฟูจึงนําคอมพิวเตอรมาเปนตัวปอนรหัสแทน เทป กระดาษ จึงเปนที่มาของเครื่อง CNC (Computerized Numerical Control)




ภาพประกอบเครื่องจักรNC



ความหมายของ CNC

              CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เป็นยุคต้นของเครื่องจักรกล CNC เครื่อง CNC จะใช้เทปแม่เหล็กแผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง DNC เป็นแนวความคิดใหม่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว (Main Computer or Host) เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบริหารเครื่องจักรกล NC และ CNC หลายๆ เครื่องCNC จะใช้เทปแม่เหล็กแผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่ สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง ในการควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี จะใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน โดยเครื่องจักรกลจะทำงานโดยอัตโนมัติตามที่ได้โปรแกรมไว้ตามชุดคำสั่ง เราไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้  ถ้าเราต้องการให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษาเดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม CAD/CAM ขึ้นมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรกล CNC ช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการโปรแกรมรหัสจี เพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น








            
         ภาพประกอบCNC


ความหมายของ DNC
             
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพของเครื่องจักรDNC
าพประกอบ DNC

                 Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน


              SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปี

             SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดังแก่องค์กรอีกด้วย









สมาชิกการจัดการ60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร  ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม 002   นาย ก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003   นาย เกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็มมี่ 004   นายจีรุตม...