วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อสาร



Wi-Fi Off-load ทางเลือกสำหรับการให้บริการ Smart Phone

Wi-Fi Off-load เทคโนโลยีทางเลือก
           ความแตกต่างระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Smart Phone และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบและ Air Card อยู่ที่พฤติกรรมในการร้องขอใช้ช่องสัญญาณคลื่นวิทยุ (Radio Channel) จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone ได้รับการออกแบบมาโดยเน้นให้บริการในลักษณะตามเวลาจริง (Realtime) กล่าวคือทุกครั้งที่แอปพลิเคชั่นที่มีการติดตั้งใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาแอปพลิเคชั่นประเภท Social Network อย่าง Facebook, Twitter, MySpace ฯลฯ รวมไปถึงแอปพลิเคชั่นประเภท Chatting ต่างๆ ต้องมีการอัพเดตข้อมูลกับศูนย์ให้บริการส่วนกลาง โทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone เหล่านี้ก็จะมีการร้องขอใช้ช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลโดยเป็นการร้องขอเป็นช่วงสั้นๆ หยุดๆ ส่งๆ ต่อเนื่อง ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากปรัชญาในการออกแบบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ช่องสัญญาณวิทยุบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย 2G หรือ 3G ของแต่ละเครือข่าย หรือแม้กระทั่งเครือข่ายเดียวกัน แต่ใช้งานต่างพื้นที่ หรือต่างเวลากัน จะมีความหนาแน่นของทราฟฟิคไม่เท่ากัน หากออกแบบให้ Smart Phone มีการเชื่อมต่อค้างไว้แล้วดาวน์โหลดหรืออัพโหลดข้อมูลจนเสร็จสิ้น อาจเกิดปัญหาว่าช่องสัญญาณไม่ว่างเพียงพอสำหรับการรับส่งข้อมูลเป็นเวลานานๆ บางครั้งอาจต้องรอให้ช่องสัญญาณว่าง จนเป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการซึ่งซื้อ Smart Phone เหล่านั้นไปใช้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี และกลายเป็นจุดด้อยในการแข่งขันทำตลาดของผู้ผลิต Smart Phone   เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพความพร้อมในการให้ใช้ช่องสัญญาณวิทยุของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละพื้นที่ แต่ละเวลา หรือแม้กระทั่งแต่ละเครือข่าย มีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณทราฟฟิคใช้งานในขณะนั้น ผู้ผลิต Smart Phone เริ่มตั้งแต่ Black Berry จึงเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของเครื่องลูกข่ายให้เน้นการร้องขอทรัพยากรช่องสัญญาณสื่อสารข้อมูลจากเครือข่ายบ่อยๆ แทน การเชื่อมต่อแต่ละครั้งก็เป็นเพียงการดาวน์โหลดหรืออัพโหลดข้อมูลสั้นๆ จากนั้นจึงปล่อยช่องสัญญาณให้เครื่องลูกข่ายเครื่องอื่นใช้งานต่อไป
รูปแสดง การพลิกบทบาทหน้าที่ในห่วงโซ่ธุรกิจสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบัน







รูปแสดง ความหลากหลายของแอปพลิเคชั่นที่มีใช้งานบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายปัจจุบัน

             หากมองในแง่ของการใช้ทรัพยากรช่องสื่อสารข้อมูลบนคลื่นวิทยุแล้ว การออกแบบเช่นนี้ก็ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการให้บริการในภาพรวม แต่ในความเป็นจริง พฤติกรรมดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อการบริหารขัดการช่องสัญญาณควบคุม (Control Channel) บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากการออกแบบข้อกำหนดทางเทคนิคของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งมาตรฐาน 2G และ 3G ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าในโลกนี้ไม่เคยมีและไม่น่าจะมีการออกแบบกลไกการขอใช้ช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลบ่อยๆ และเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เหมือนดังที่เกิดขึ้นกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone จึงมิได้เผื่อจำนวนช่องสัญญาณควบคุมที่ใช้ในการร้องขอทรัพยากรเครือข่ายไว้เพียงพอ ผลที่ตามมาก็คือเมื่อมี Smart Phone เช้าใช้งานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งภายในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากๆ ประกอบกับประเภทของแอปพลิเคชั่นที่มีการใช้งานบนเครื่อง Smart Phone มีหลากหลายมากขึ้น แอปพลิเคชั่นแต่ละตัวก็จะผลัดกันร้องขอเชื่อมต่อเครือข่าย จึงมีผลทำให้ช่องสัญญาณควบคุมเกิดภาวะหนาแน่น และกลายเป็นทำให้ไม่สามารถรองรับบริการพื้นฐานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการโทรออก รับสายเข้า หรือแม้กระทั่งเกิดการติดขัดในการจัดสรรช่องสื่อสารสำหรับรับส่งข้อมูลด้วยกันเอง
           ข้อมูลจาก Pyramid Research พยากรณ์ไว้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Smart Phone จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากจำนวน 232 ล้านเครื่องทั่วโลก ใน พ.ศ. 2553 ไปเป็น 532 ล้านเครื่องใน พ.ศ. 2557 ซึ่งในทางปฏิบัติ อัตราการเติบโตของจำนวนเครื่อง Smart Phone อาจมีมากกว่านี้ ทั้งจากแรงผลักดันในเรื่องของแอปพลิเคชั่น รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคที่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย สำหรับใช้บริการออนไลน์ต่างๆ มากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือสภาพของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งแม้ในปัจจุบันจะเป็นเครือข่าย 3G แต่ก็ไม่สามารถรองรับการรูปแบบการจับใช้ช่องสัญญาณของเครือข่ายได้ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปรัชญาการออกแบบเทคโนโลยี 3G ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการทำงานชองอุปกรณ์สื่อสารแบบ Smart Phone ได้
             เทคโนโลยี 4G เช่น LTE (Long Term Evolution) หรือ TD-LTE (Time Division – LTE) กำลังได้รับการเร่งพัฒนาเพื่อให้สามารถให้บริการทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันที่เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Smart Phone ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย และกำลังจะพัฒนาไปเป็นการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารแบบ Tablet ดังเช่นที่เริ่มได้รับการจุดประกายโดยผลิตภัณฑ์ iPad จากค่าย Apple ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการแข่งขันพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารในลักษณะดังกล่าว อันเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายสื่อสารในปริมาณที่มาก คาดว่าในระยะเวลาอันสั้นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ย่อมไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานอันมหาศาลนี้ได้ทัน จนน่าจะส่งผลให้เกิดการลดทอนประสิทธิภาพของเครือข่ายลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความค้องการสื่อสารที่สูงมาก แต่เครือข่ายพัฒนาขีดความสามารถตามไม่ทัน



             ทางเดียวที่สามารถลดระดับความรุนแรงของการบริโภคทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G และ 4G ได้ คือการสร้างเครือข่าย Wi-Fi หรือ Wireless LAN ในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการใช้ Smart Phone หนาแน่น ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่พ้นตามบริเวณห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงแรม สถานที่ชุมชน รวมถึงอาคารสำนักงาน และสถานศึกษาต่างๆ โดยบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะผลักให้อุปกรณ์ Smart Phone ย้านไปจับใช้สัญญาณวิทยุจากเครือข่าย Wi-Fi แทนเมื่อมีการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวทำให้ช่องสัญญาณและทรัพยากรของเครือข่าย 3G ว่างจากปริมาณการใช้งานอันหนักหน่วงและรุนแรง มีขีดความสามารถเหลือพอที่จะให้บริการ 3G ให้กับผู้ใช้บริการที่มีความจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ เช่น การใช้งานขณะขับขี่ยานพาหนะ หรืออยู่นอกอาคารสถานที่ ซึ่งในทางปฏิบัติ การใช้งานในพื้นที่เหล่านี้ ผู้ใช้บริการก็มิได้มีความต้องการใช้ช่องสัญญาณมากมาย เหมือนกับตอนที่อยู่ภายในพื้นที่เฉพาะ หรือมิได้มีการเคลื่อนที่ ทำให้สามารถประวิงเวลารักษาคุณภาพของเครือข่าย 3G ได้ต่อไป

                                รูปแสดง แนวทางการให้บริการ Wi-Fi Offload ของกลุ่มบริษัท AIS
เทคนิคการใช้เครือข่าย Wi-Fi ในการแบ่งเบาภาระการใช้งานจากเครือข่าย 3G นี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Wi-Fi Off-load เป็นทางเลือกหลักที่บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก ที่ประสบปัญหาการเติบโตที่รุนแรงของผู้ใช้บริการ Smart Phone ต่างใช้เป็นทางเลือกในการให้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การให้บริการของค่าย True Move ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ Wi-Fi Access Point จำนวนกว่า 17,000 จุดทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการของตนสามารถใช้งานควบคู่ไปกับการจับใช้งานเครือข่าย 3G ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซของตน พร้อมกันนี้ True Move ได้ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ พร้อมกับสร้างประสบการณ์การใช้งาน Smart Phone ในสภาพแวดล้อมเครือข่ายทั้ง 3G และ Wi-Fi ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเข้าใจ และคุ้นเคยกับการให้บริการในลักษณะดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ค่าย AIS ก็มีการสร้างเครือข่ายสื่อสารไร้สายให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (Seamless Operation) ระหว่างเครือข่าย 3G ไปยังเครือข่าย EDGE (ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า EDGE+) โดยมีเครือข่าย WiFi ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับโครงข่ายของบริษัท Triple 3 Broadband (3BB) เป็นการทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Smart Phone สามารถจับใช้งานเครือข่ายที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการแต่ละรายคาดกันว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นๆ ในประเทศไทย ก็จะทยอยสร้างเครือข่าย Wi-Fi ไปพร้อมๆ กับการขยายเครือข่าย 3G ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านเครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นๆ ทั่วโลก

 รูปแสดง True Move กับการให้บริการ Wi-Fi Off-load ผสมผสานกับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
                 รูปแสดงพฤติกรรมการขอใช้ช่องสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ Smart Phone ซึ่งจะเห็นว่ามีการร้องขอใช้ช่องสัญญาณควบคุมถี่มาก ทั้งๆ ที่ปริมาณข้อมูลที่ใช้ส่งมีไม่สูงมาก


วิเคราะห์บทความ
         ได้พูดถึงมากขึ้นในบริบทของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก ความหมายที่แท้จริงของ Mobilution นั้นหมายถึงการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อสารไร้สายให้ได้สูงสุด สร้างประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้บริโภค ผู้ให้บริการเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นต่างๆ ภาพรวมของ Mobilution นำไปสู่ความผาสุกขององค์รวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สาย จนมีการกล่าวถึงว่าเป็นการสร้างระบบนิเวศน์ของการสื่อสาร (Telecommunication Ecosystem) ขึ้นอย่างเป็นระบบ พัฒนาการของแนวคิด Mobilution จนสามารถเติบโตและสามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้เพียงเอื้อม และสำหรับประเทศไทย

ข้อดีของการให้บริการ Wi-Fi Off-load
              ข้อดีของการกำหนดกลยุทธ์ Wi-Fi Off-load ก็คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถกำหนดราคาการใช้บริการได้ นอกเหนือจากเพียงการผูกติดอยู่กับการคิดค่าใช้บริการผ่านเครือข่าย 3Gเพียงอย่างเดียวถือเป็นการยกระดับโครงสร้างการคิดราคาค่าบริการขึ้นอีกระดับหนึ่ง และประวิงเวลาในการเข้าสู่การแข่งขันตัดราคากันบนเครือข่าย 3G จนทำให้เสียราคาค่าบริการ สิ่งที่สนับสนุนความสำเร็จในการให้บริการ Wi-Fi Off-load อยู่ที่ความพร้อมของเครื่องลูกข่าย Smart Phone รวมถึง Feature Phone ในท้องตลาดที่ส่วนใหญ่รองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi อยู่แล้ว ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถทางเทคนิคของเครือข่าย เพื่อให้เครือข่าย 2G หรือ 3G ที่ตนให้บริการอยู่สามารถทำงานร่วมกับเครือข่าย Wi-Fi ได้ โดยยังคงสามารถบันทึกค่าใช้จ่าย และควบคุมคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าของตนได้ ไม่ว่าจะจับใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Wi-Fi อยู่ก็ตาม
             ปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถกำหนดเงื่อนไขให้เฉพาะผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของตนเท่านั้นที่จะสามารถใช้ Smart Phone จับใช้งานเครือข่ายได้ โดยมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจยืนยันผู้ใช้บริการ (Subscirber Authentication) โดยให้อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ Wi-Fi Hot Spot ทำการตรวจสอบข้อมูลใน SIM Card ที่บรรจุอยู่ภายในเครื่อง Smart Phone ก่อนจะทำการยืนยันให้ Smart Phone เครื่องดังกล่าวสามารถจับใช้งาน Hot Spot ได้ ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้บุคคลผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน และพยายามใช้ Smart Phone หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเข้ามาจับใช้งาน Hot Spot
ข้อเสียของการให้บริการ Wi-Fi Off-load
            การให้บริการ Wi-Fi Off-load ในตลาดสื่อสารไร้สายไทยน่าจะทวีความเข้มข้น และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใน พ.ศ. 2554 นี้ ในขณะที่เริ่มมีความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายที่จะเปิดให้บริการ 3G แม้จะเป็นย่านความถี่ทางเลือก เช่น 850 หรือ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ก็ถือเป็นการกระตุ้นการขยายตัวของตลาด Smart Phone และ Tablet PC อย่าง iPad ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้ว ให้มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดขึ้นอีก ผลที่เกิดตามมาก็คือปริมาณข้อมูลและการใช้งานอย่างมหาศาล ข้อพิจารณาของผู้ใช้บริการ Smart Phone จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องศึกษาว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายรายได้ที่มีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการ Wi-Fi Off-load ในพื้นที่สำคัญ อย่างน้อยก็เพื่อให้การใช้บริการของตนเป็นไปโดยไม่ติดขัด แม้อยู่ในพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่ก็ตาม



วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม



เนื้อหาประจำวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม




บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานอุตสาหกรรม
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 ระบบประมวลผล
บทที่ 5 เครื่องจักรกลNC
บทที่ 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 9 PLC/PC
บทที่ 10 คอมพิวเตอร์กับงานผลิต

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ : กรรภิรมย์   ติระพัฒน์
ชื่อเล่น : เอิงเอย
รหัสนักศึกษา : 606705001
จบมาจาก : วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
สาขา : การโรงแรมและบริการ
ศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
วันเดือนปีเกิด : 20 มิถุนายน พ.ศ.2539
กรุ๊ปเลือด : โอ
ที่อยู่ปัจจุบัน : 75/502 ถนนสงขลานาทวี32 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
เบอร์โทรศัพท์ : 099-3604537
E-mail : aernglove_75@hotmail.com
สีที่ชอบ : สีนู๊ด
สิ่งที่ชอบ : ชอบเที่ยวและเต้น
สิ่งที่ไม่ชอบ : พวกสัตว์เลื้อยคลาน ฯลฯ

สมาชิกการจัดการ60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร  ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม 002   นาย ก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003   นาย เกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอ็มมี่ 004   นายจีรุตม...